ปัญหาการนอนของนักศึกษาที่ยังคงอาศัยอยู่ในหอพักในของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงปิดเทอมในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19
เพ็ญวรา วรามิตร*, วริสรา ลุวีระ**
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศึกษาปัญหาการนอนและปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์กับปัญหาการนอนของนักศึกษาที่ยังคงอาศัยอยู่ในหอพักในของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วงปิดเทอมในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 จํานวน 120 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้กรอบเวลา (Time frame allocation) ในช่วงเดือน มิถุนายน 2563 แบบสอบถามชนิดตอบเอง โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความชุก สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนสถิติเชิงวิเคราะห์ โดยใช้ Chi-square test, Odd ratio (OR), และ 95% Confidence interval
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65 ส่วนใหญ่มีปัญหาเริ่มต้นนอนจนนอนหลับ และปัญหาพักผ่อนไม่เพียงพอ จำนวน 97 คน (ร้อยละ 80.8) รองลงมามีปัญหางีบหลับระหว่างวัน จำนวน 96 คน (ร้อยละ 80.8) และมีปัญหาตื่นกลางดึกแล้วนอนไม่หลับ โดยส่วนใหญ่ จำนวน 81 คน (ร้อยละ 67.5) ตามลำดับ เพศชายเป็นปัจจัยที่อาจมีความสัมพันธ์กับปัญหาการเริ่มต้นนอนจนกระทั่งนอนหลับ (OR 2.5, 95% CI: 1.04 – 6.0) ปัญหาการงีบหลับระหว่างวัน (OR 3.98, 95% CI: 1.24 – 12.80) และปัญหาการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ (OR 3.11, 95% CI: 1.34 – 7.24) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.05
คําสําคัญ: ปัญหาการนอน, นักศึกษา, โควิด-19
Keywords: Sleeping Problems, Students, COVID-19
* โรงพยาบาลยโสธร จ.ยโสธร
** ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 338 ครั้ง