วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 10 ฉบับที่ 3
img
การประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร ระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
วีระชณ ทวีศักดิ์
บทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิด ที่ 2 ในคลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร ระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 โดยใช้รูปแบบซิป (CIPP Model) คือ การประเมินผลด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บข้อมูลบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน 12 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 208 คน และเวชระเบียนของผู้ป่วยเบาหวานในคลินิกหมอครอบครัว 362 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหาในประเด็นปัญหาที่ศึกษาและใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxon signed rank test และ McNamar' s Chi-Square test ผลการวิจัย พบว่า ด้านบริบท คลินิกหมอครอบครัวไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบบริการให้สอดคล้องกับนโยบายลดความแออัด เพิ่มระยะห่างทางสังคม ด้านปัจจัยนำเข้า การมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตรวจน้ำตาลปลายนิ้วที่จุดตรวจให้บริการประจำหมู่บ้าน ส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้านและเป็นพี่เลี้ยง ควรผ่านการอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนการมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการติดต่อประสานงานผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ทำให้การส่งต่อข้อมูลสะดวกและรวดเร็ว ด้านกระบวนการ ควรใช้กระบวนการอย่างเป็นระบบและมีการติดตามอย่างต่อเนื่อง ด้านผลผลิต ผู้ป่วยมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) จากผลการวิจัย รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ต้องปรับปรุงให้มีความเหมาะสม สอดคล้องบริบทปัญหาและสถานการณ์ สามารถนำมาใช้ได้จริงในคลินิกหมอครอบครัว
คำสำคัญ: คลินิกหมอครอบครัว, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน, กลุ่มควบคุมโรคไม่ดี
Keywords: primary care cluster, the chronic care model, poor control
โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี


Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 307 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019