ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืด
สุทธินันท์ โคตะสิน*
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสหสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืดและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืดที่มีอายุ 60-90 ปี และเข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคหืดโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 138 ราย สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) แบบ stepwise
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 79.40 อายุอยู่ในช่วง 51-60 ปี ร้อยละ 45.70 สถานภาพสมรส ร้อยละ 68.10 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 47.80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 38.40 มีรายได้อยู่ในช่วง 4,000-6,000 บาท ร้อยละ 45.7 ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยหอบหืด อยู่ในช่วง 1-10 ปี ร้อยละ 42.50 พฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุ โรคหืดของกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84 ผลการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหอบหืด (Beta=0.383) และความรู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด (Beta=.224) โดยสามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลผู้สูงอายุโรคหืดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหืด ได้ร้อยละ 19.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
คำสำคัญ: พฤติกรรมการดูแล, โรคหืด, ผู้ดูแล
Keywords: caring behaviors, asthma, caregiver
* โรงพยาบาล 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 297 ครั้ง