ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
วารุณี สุดตา*, พิมพ์อนงค์ แพรต่วน*, ศุภณัฐ คงหอม*, สุวัฒนา เกิดม่วง*
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนม ขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวานในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE Model เป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 380 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่าน google form วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 50.26) อายุเฉลี่ย 10.70 ปี (S.D. = 1.027) ศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (ร้อยละ 52.84) ได้รับเงินจากผู้ปกครองวันละ 40-45 บาท (ร้อยละ 57.37) มีพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวานอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.0001) คือ อายุ ส่วนสูง ระดับการศึกษา การเข้าถึงขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ทัศนคติต่อการบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน และแรงจูงใจในการตัดสินใจบริโภคขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ปกครองและครูในการเฝ้าระวังพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ: ขนมขบเคี้ยว, เครื่องดื่มที่มีรสหวาน, พฤติกรรมการบริโภค, นักเรียนชั้นประถมศึกษา
Keywords: snack, sugary beverages, consumption behavior, primary school-age children
*สถาบันพระบรมราชชนก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 295 ครั้ง