ผลของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการคัดแยกผู้ป่วย ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม
วรางคณา สายสิทธิ์*, ชิษณุพงศ์ สายสิทธิ์**, วาสนา สายเสมา**, บดีภัทร วรฐิติอนันต์***, เดช ธรรมศิริ****, สุพจน์ เฮงพระพรหม*****, ไก้รุ่ง เฮงพระพรหม*****, อนัญญา โสภณนาค*
บทคัดย่อ
การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นการจัดระดับของความเจ็บป่วยที่ต้องการความเร่งด่วนของการรักษาที่เหมาะสม การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่ม แบบวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความถูกต้องของการคัดแยก และเปรียบเทียบระยะเวลาการรับบริการระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยฉุกเฉิน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 22 คน ที่ได้รับการ คัดแยกตามปกติ และกลุ่มทดลอง 22 คน ที่ได้รับคัดแยกด้วยการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการคัดแยกผู้ป่วย โดยกำหนดเกณฑ์การจับคู่เข้ากลุ่มเพื่อควบคุมตัวแปรแทรกซ้อน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ด้านความถูกต้องของการคัดแยกและระยะเวลาของการคัดแยก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความถูกต้องของการคัดแยกในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p .003) 2) ระยะเวลาการรับบริการ ได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับการดูแลรักษา ระยะเวลาจำหน่าย และระยะเวลาในการรอคอยการรักษาในกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.000, <.000, .001)
คำสำคัญ: ผลของการใช้, ปัญญาประดิษฐ์, การคัดแยกผู้ป่วย
Keywords: effect, artificial intelligence, triage
*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, **กลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม, ***กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม, ****คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, *****คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 154 ครั้ง