พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน : ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปสู่
การพัฒนาระบบบริการเบาหวานในอำเภอห้วยแถลง
วิภา อุทยานินทร์* เสาวนันท์ บำเรอราช** กาญจนา นิ่มสุนทร***
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือดประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่อำเภอห้วยแถลงในปี พ.ศ. 2553 ทั้งหมดจำนวน 1,922 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ในเดือนมกราคม ถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2554 โรงพยาบาลห้วยแถลง โดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันว่าเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คำนวณโดยใช้โปรแกรมWin pepi ได้ 333 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือด วิเคราะห์ข้อมูลสัดส่วนจำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้สมุนไพร ลักษณะการใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ การเปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างกลุ่มที่ใช้สมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน และกลุ่มที่ใช้เฉพาะยาแผนปัจจุบัน โดยใช้ สถิติ Chi – square test
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการใช้สมุนไพรคิดเป็นร้อยละ 40.5 ของกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาที่ใช้สมุนไพรโดยส่วนมาก คือ 3 เดือนก่อน สอบถามและทั้งสองกลุ่มผู้ใช้และผู้ไม่ใช้สมุนไพรมีการควบคุมระดับนํ้าตาลได้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติโดยใช้ Chi-square test ส่วนชนิดของสมุนไพรที่มีการใช้เพื่อควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วย ที่อำเภอ ห้วยแถลง คือ น้ำใบย่านาง ร้อยละ 17.5 สมุนไพรครอบฟันสีต้ม ร้อยละ 1.9 ว่านเอก ร้อยละ 1.6 มะรุมร้อยละ 18.6 และอื่นๆ ร้อยละ 10.4 ซึ่งได้แก่ ขมิ้นชัน ใบมะยม ดอกคำฝอย ฟ้าทะลายโจร ใบเตย รางจืด เห็ดหลินจือ รากเตย ใบเตย ต้นบอระเพ็ด
* โรงพยาบาลห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา
** ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเศก