อัตราการคงอยู่ในชนบทของบัณฑิตแพทย์
ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
ลลิตยา กองคำ* พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง** ศตพร รัตนโชเต***
บทคัดย่อ
สถานการณ์การขาดแคลนกำลังคนด้านสุขภาพ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยการผลิตแพทย์ในโครงการถ้าเป็นไปตามเป้าหมายถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญที่สามารถแก้ปัญหาเรื้อรังของการขาดแคลนแพทย์ในชนบท ดังนั้นจึงได้ศึกษาอัตราการคงอยู่ในชนบทของบัณฑิตแพทย์ในโครงการ และวิเคราะห์อัตราการคงอยู่ในชนบทของบัณฑิตแพทย์ในโครงการ ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
วิธีการศึกษาแบ่งกลุ่มการศึกษา เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท รุ่นที่ 1-8 จำนวน 1,402 คน กลุ่มที่ 2 คือแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในระบบปกติ 6,064 คน โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Survival analysis
ผลการศึกษาพบว่า ในปีแรกหลังสิ้นสุดการใช้ทุนแพทย์ CPIRD คงอยู่ในระบบราชการ 69% ส่วนระบบปกติมีการคงอยู่ 59% Hazard ratio มีค่า 0.66 แสดงให้เห็นว่าแพทย์ในระบบปกติมีโอกาสออกจากกระทรวงสาธารณสุข 1.5% เท่าของแพทย์ CPIRD อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.001) และโอกาสการคงอยู่ในชนบทของแพทย์ CPIRD สูงกว่าแพทย์ระบบปกติ ในปีแรกหลังสิ้นสุดการใช้ ทุนแพทย์ CPIRD คงอยู่ในชนบท 52% ส่วนระบบปกติมีการคงอยู่ในชนบท 47% Hazard ratio มีค่า0.88 แสดงว่าแพทย์ระบบปกติมีโอกาสออกจากชนบทเป็น 1.14 เท่าของแพทย์ CPIRD อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) ค่ามัธยฐานการคงอยู่ในชนบทของแพทย์ CPIRD ลดลงจาก 10 ปีเป็น 4 ปี ส่วนแพทย์ระบบปกติลดลงจาก 6.5 ปี เป็น 3 ปี โดยรวมแพทย์ CPIRD มีอัตราการคงอยู่ในชนบทสูงกว่าแพทย์ระบบปกติ แต่มีแนวโน้มลดลง
คำสำคัญ : อัตราการคงอยู่ของบัณฑิตแพทย์, ผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท
Key words : Retention Rate of Post- Graduate Students, CPIRD Project
* โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
** ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** นักวิจัยอิสระ
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 753 ครั้ง