แนวทางการจัดบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เหมาะสมในบริบทอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
โชคชัย มานะธุระ* พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง** วราวัชร์ ขจรรัตนวณิชย์***
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย การดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายหลังการประกาศนโยบายของรัฐบาล และเสนอแนะการจัดบริการของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เหมาะสมในบริบทของอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่เป็นแหล่งข้อมูลทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ มีการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วสรุปผลและนำเสนอผลการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่า ระบบบริการปฐมภูมิเป็นระบบบริการสาธารณสุขที่มีความหลากหลายและมีความเป็นอุดมคติสูง แต่มีความสำคัญและจำเป็น ต้องได้รับการพัฒนาให้เข้มแข็ง เพื่อให้มีศักยภาพในการรองรับปัญหาที่สลับ ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในอนาคต เป็นระบบบริการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก เป็นองค์รวมต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ ผลจากการจัดบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพบว่า ส่วนใหญ่จะเน้นการปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดบริการเชิงรับ ส่วนการจัดบริการเชิงรุกพบว่ายังไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สำหรับข้อเสนอแนะการจัดบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เหมาะสมในบริบทของอำเภอจักราช ควรเน้นการใช้แนวคิดของเวชปฏิบัติครอบครัว โดยจัดบริการเชิงรุกนำเชิงรับ โดยดูแล 8 กลุ่มเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง พัฒนาการเยี่ยมบ้าน การจัดกิจกรรมทันตสาธารณสุข กิจกรรมเภสัชสาธารณสุขและการคุ้มครองผู้บริโภค กิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่สำคัญตามเกณฑ์มาตรฐานและประเมินผลสำเร็จของกิจกรรม
คำสำคัญ : การจัดบริการ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Key words : Suitable Service Procedures , Tumbol Health Promotion Hospital
*โรงพยาบาลจักราช จังหวัดนครราชสีมา
** ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** ภาควิชาทันตกรรมชุมชน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1284 ครั้ง