ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปากกับปัจจัยอุตุนิยมวิทยาในจังหวัดขอนแก่น
ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์*, วัฒนา ชยธวัช*, ภาวัต ขาวพัฒนวรรณ*, พิศมร กองสิน*
บทคัดย่อ
โรคมือเท้าปากเป็นโรคติดเชื้อที่พบมากในเด็ก ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปากตายง่ายในที่แห้งและความร้อน จึงมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปากกับปัจจัยอุตุนิยมวิทยาในจังหวัดขอนแก่น โดยรวบรวมข้อมูลสถิติรายเดือนโดยรวมจำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก และสถิติอุตุนินมวิทยาของจังหวัดขอนแก่น ระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง 2567 สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสหสัมพันธ์เพียร์สัน และตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นนัยทั่วไป
ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณฝนเฉลี่ยกับจำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปากเฉลี่ยรายเดือนมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเท่ากับ 0.439 ค่าพีน้อยกว่า 0.05 ตัวแบบการถดถอยปัวซงนัยทั่วไป และตัวแบบการถดถอยทวินามลบที่สอดคล้องกับข้อมูลมากที่สุดมีเพียงปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือนเป็นตัวแปรอธิบายเพียงตัวเดียว โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การกำหนด (coefficient of determination - R²) เท่ากับ 0.363 และ 0.293 ตามลำดับ ตัวแบบสมการปังซงนัยทั่วไป y = exp (4.531+0.185x) เมื่อ y คือ จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก สามารถอธิบายได้ด้วย x คือ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย เมื่อ exp (0.185) เท่ากับ 1.20 ดังนั้น จำนวนผู้ป่วยโรคมือเท้าปากจะเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20 เมื่อปริมาณฝนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตร
คำสำคัญ: โรคมือเท้าปาก; ความสัมพันธ์; ปัจจัยอุตุนิยมวิทยา; จังหวัดขอนแก่น; ตัวแบบการถดถอยเชิงเส้นนัยทั่วไป
Keywords: Hand foot mouth disease; Relationship; Meteorological factors; Khon Kaen province; Generalized linear regression model
คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 66 ครั้ง