วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 131 ฉบับที่ 1
img
ความชุกของการใช้เห็ดขี้ควายในประเทศไทย
สมเด็จ กั้วพิทักษ์*, สุภัทรญาณ ทองจิตร**
บทคัดย่อ
ความเข้าใจในสถานการณ์การใช้พืชเสพติดที่เป็นปัจจุบันถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนายุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบในวงกว้าง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดประมาณขนาดประชากรไทยที่ใช้เห็ดขี้ควายในปี พ.ศ. 2567 โดยใช้การศึกษาเชิงพรรณนาผ่านการสำรวจครัวเรือนภาคตัดขวาง ดำเนินการด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิห้าขั้นตอนด้วยการแบ่งพื้นที่ประเทศไทยออกเป็น 10 เขตพื้นที่ จากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบจังหวัด ตำบล และชุมชนตามลำดับอย่าง ครัวเรือนถูกสุ่มเลือกอย่างมีระบบโดยอ้างอิงจากแผนที่ชุมชนที่ได้รับการปรับปรุงล่าสุด ภายในแต่ละครัวเรือนสมาชิกถูกจัดแบ่งตามเพศเป็นสองชั้นภูมิและสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากตารางเลขสุ่มในแต่ละชั้นภูมิ การศึกษานี้ได้ขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 34,410 คน การรวบรวมข้อมูลดำเนินการระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2567 เก็บข้อมูลการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างชนิดต่อหน้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ Odd ratio, 95%C.I., point estimation, chi square, Fisher exact test, Multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า มีประชากรไทยอายุระหว่าง 12-65 ปี จำนวน 12,912 คน ที่รายงานว่าเคยใช้เห็ดขี้ควาย คิดเป็นความชุก 26.32 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยมีความชุกในเพศชายเท่ากับ 40.74 คนต่อแสนประชากร และในเพศหญิงเท่ากับ 12.35 คนต่อแสนประชากร กลุ่มวัยเด็กและเยาวชนมีความชุก 6.45 คนต่อแสนประชากร ขณะที่กลุ่มวัยผู้ใหญ่มีความชุก 32.16 คนต่อแสนประชากร นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) คือ การใช้สารเสพติดอื่นร่วมด้วย ซึ่งเพิ่มโอกาสเกิดพฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้เห็ดขี้ควายมากกว่าผู้ที่ไม่ใช้สารเสพติดถึง 42.8 เท่า (AOR = 42.817, 95% CI = 16.508-111.055, p < 0.001)
คำสำคัญ: เห็ดขี้ควาย; ความชุก; ประเทศไทย
Keywords: Psilocybin mushrooms; Prevalence; Thailand
*สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
**คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี


Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 17 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019