ความพึงพอใจของบุคลากรด้านสาธารณสุข
ต่อการจัดบริการร่วมระหว่างการแพทย์แผนไทยและ
แพทย์แผนปัจจุบัน ในเขตอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
เพชรทวี นวลมณี*
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรสาธารณสุขอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมแบบสอบถาม แล้วนำมาจัดลำดับเพื่อนำเสนอผลวิเคราะห์ข้อมูล จำนวน 36 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ใช้สถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.40) มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 47.22) อายุเฉลี่ย 35.92 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =0.19 อายุมากที่สุด 48 ปี และอายุน้อยที่สุด 22 ปี ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สายงานพยาบาลวิชาชีพ เป็นข้าราชการตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน 6-10 ปี กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านการแพทย์แผนไทยของหน่วยงานในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมาที่ระดับปานกลาง (ร้อยละ100) ค่าเฉลี่ย = 2.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D.= 0.64 กลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อการจัดบริการร่วมระหว่างการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยรวมในระดับปานกลาง= 2.96 และ S.D.= 0.64 เมื่อแยกพิจารณารายข้อพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมาก คือ การจัดบริการร่วมมีประโยชน์ ต่อประชาชน การให้สมุนไพรและยาแผนโบราณ = 3.423.36 และ S.D.=0.91,1.13 ตามลำดับ นอกนั้นค่าเฉลี่ยระดับปานกลาง ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ คือ การจัดบริการสุขภาพควรมีการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จึงจะทำให้เกิดการยอมรับ และความพึงพอใจโดยรวมในระดับสูง
คำสำคัญ : การบริการร่วม, บริการ, ความพึงพอใจ, บุคลากร
Key words : Shard services, Service ,Satisfaction, Personnel
* สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 3363 ครั้ง