วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 5
img
องค์ความรู้ทางคลินิกและองค์ความรู้กระบวนการให้บริการ ในระดับปฐมภูมิ

นวลฉวี เพิ่มทองชูชัย*

บทคัดย่อ

การศึกษาองค์ความรู้ทางคลินิกและองค์ความรู้กระบวนการให้บริการในระดับปฐมภูมิ โดยการศึกษาสืบค้น และวิเคราะห์องค์ความรู้จาก แหล่งข้อมูล หนังสือและตำราวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางคลินิก และองค์ความรู้ในกระบวนการให้บริการในระดับปฐมภูมิของศูนย์สุขภาพชุมชน มีการจำแนกแหล่งข้อมูลตามระดับความน่าเชื่อถือ (Level ofevidence) ใช้เกณฑ์ประเมินของ Melnyk B. & Fineout-OverholtE. โดยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ เรื่อง Self monitoring blood glucose (SMBG)13 รายงานการวิจัย เรื่อง Fecal occult blood11 รายงานการวิจัย เรื่อง พยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว 8 รายงานการวิจัย และเรื่องการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 8 รายงานการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป หรือพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วสามารถให้บริการปฐมภูมิในศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) ทั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพ ในระดับเท่าเทียมกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป โดยมีข้อมูลงานวิจัยที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูงสนับสนุน สำหรับด้านคลินิกพบว่าการตรวจ Fecal occult blood มีประโยชน์ในการคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจค้นหาโรคให้พบตั้งแต่ระยะต้นๆ ก่อนมีลักษณะทางคลินิกปรากฏ โดยมีข้อมูลงานวิจัยที่มีระดับความน่าเชื่อถือสูงสนับสนุนเช่น เดียวกัน สำหรับการตรวจ Self monitoring bloodglucose(SMBG) แม้ว่ายังไม่มีข้อมูลสนับสนุนที่หนักแน่นพอ แต่การให้บริการในพื้นที่ห่างไกลอาจมีความจำเป็นจะต้องให้บริการเพื่อให้การเข้าถึงบริการของประชาชนเป็นไปได้ง่ายและมีความสะดวกในการใช้บริการและการบริการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์อาจเป็นส่วนหนึ่งของช่องทางบริการอื่นๆ สำหรับให้บริการประชาชนนอกเหนือจากช่องทางปกติ

สำคัญ : คลินิกบริการ, กระบวนการบริการปฐมภูมิ, เวชปฏิบัติครอบครัว Key word :ClinicalServices,Primary CareServices, Family medical services

* โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา


Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 840 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019