การประเมินผลการป้องกันการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
จังหวัดเชียงราย
นงนุช มารินทร์* ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์** ขนิษฐา สุนาคราช***
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการป้องกันการฆ่า ตัวตายในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายในอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย โดยเก็บข้อมูลทุติยภูมิจากเวชระเบียนในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายโดยผ่านการคัดกรองด้วยแบบ SU 9 ในปี 2555 จำนวน 92 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกระบวนการป้องกันการฆ่าตัวตายของบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 8 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ความถี่ ร้อยละ ข้อมูลคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) แล้วมาสรุปเป็นภาพรวม ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายหลังได้รับการดูแลช่วยเหลือตามโครงการป้องกันการฆ่าตัวตาย ติดตาม 2 ครั้ง 6 เดือน และ 1 ปี ไม่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย
ผลการศึกษามีผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตายจำนวน 92 คน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนใหญ่ อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัวร้อยละ 54.30 ผลการรักษาทั้งการติดตามครั้งที่ 1 และ 2 ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะซึมเศร้า และไม่มีแนวโน้มต่อการฆ่าตัวตาย ในการติดตามครั้งที่ 2 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคทางกาย 1 คน และผลการประเมินพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ในการติดตามครั้งที่ 1 และ 2 ทั้งหมดไม่มีพฤติกรรมการฆ่าตัวตายและผลจากสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า กระบวนการให้คำปรึกษาสามารถปรับเปลี่ยนความคิดในการที่จะฆ่าตัวตายได้
คำสำคัญ : การป้องกันการฆ่าตัวตาย, ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงการฆ่าตัวตาย, การประเมินผล
Key words :Prevention of suicide, High risk of suicide, Evaluation
* โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
** ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
*** โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมานครินทร์ จังหวัดนครราชสีมา
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 723 ครั้ง