บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผล ความถูกต้อง และ ความรวดเร็วของการสืบค้นความรู้ทางการแพทย์โดยใช้ Biomedical electronic databases และ General search engines ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยขอนแก่น รูปแบบการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงทดลอง ทำการศึกษาในประชากร นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2554 รวม 274 คน กลุ่มตัวอย่าง 80 คน ทำการแบ่งกลุ่มโดย Block of four ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสอบถามชนิดตอบเองที่นักวิจัยพัฒนาขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ Student T-test ร่วมกับสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิผลและความเร็ว ของการสืบค้นข้อมูลผ่านทาง General search engines ดีกว่าBiomedical electronic databases แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-values = 0.274 , 0.356) ส่วนความถูกต้องของการสืบค้นข้อมูลผ่านทาง General search engines ดีกว่า Biomedical electronic databases ฐานข้อมูลที่มีความถี่มากที่สุดในการใช้สืบค้นให้ได้มาซึ่งคำตอบที่ถูกต้องในกลุ่มทดลอง ได้แก่ 1) AccessMedicine 2) MDConsult 3) UpToDate 4) BMJ Best Practice ในขณะที่กลุ่มควบคุมใช้ 1) Google 2) bing 3)YAHOO 4) sciseek และพบว่า กลุ่มผู้ที่เคยใช้ Biomedical electronic databases สามารถสืบค้นหาคำตอบที่ถูกต้องได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่เคยใช้ อย่างไรก็ตามกลุ่มทดลองส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจกับ Biomedical electronic databases มากกว่า General search enginesสรุป ประสิทธิผล ความเร็ว และความถูกต้องของการสืบค้นความรู้ในด้าน Basic medical sciences ผ่านทาง General search engines ดีกว่า Biomedical electronic databases
คำสำคัญ : นักศึกษาแพทย์ Biomedical Electronic Databases, Search Engines
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 16604 ครั้ง