บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนนาวัง ตำบลนาเหล่า อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรในเขตรับผิดชอบศูนย์สุขภาพชุมชนนาวัง ทั้งหมด 267 คน รวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ จากนั้นนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรระหว่างวันที่ 1-10 มีนาคม 2557 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 17 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย และเสี่ยงเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ มีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับดี ร้อยละ 84.30 ตอบคำถามเกี่ยวกับการความรู้การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้มากที่สุด คือข้อ 1 มีความรู้ในหัวข้อ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หมายถึง สารเคมีใดๆ ที่ใช้ป้องกัน กำจัด ขับไล่หรือกำจัดจำนวนแมลงศัตรูพืช วัชพืช เชื้อรา และโรคพืชอื่นๆ ร้อยละ 98.70 ส่วนข้อที่ตอบถูกน้อยที่สุด คือ ข้อ 12 ประชาชนควรเลือกซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีฉลากบนภาชนะบรรจุ ประกอบด้วยชื่อสารเคมี ปริมาณที่ผสม คำอธิบาย วิธีใช้เท่านั้นและพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช อยู่ในระดับดี ร้อยละ 90.60 แบ่งเป็น พฤติกรรมก่อนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมที่ปฏิบัติถูกต้องมากที่สุด เรื่อง ก่อนที่จะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอ่านฉลากที่ติดตามมากับภาชนะที่บรรจุให้เข้าใจเสียก่อน เช่น วิธีใช้ ปริมาณ วิธีป้องกันอันตราย และวิธีแก้พิษ ร้อยละ 97.10 พฤติกรรมขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมที่ปฏิบัติถูกต้องมากที่สุด เรื่องพฤติกรรมขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีพฤติกรรมเรื่อง ขณะฝนตกให้หยุดฉีดพ่นสารเคมี ร้อยละ 98.50 หลังการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมปฏิบัติถูกต้องมากที่สุด เรื่องเมื่อมีสิ่งอุดตันอุปกรณ์ฉีดพ่น ไม่ให้ใช้ปากเป่า หรือใช้มือเปล่าทำการซ่อมอุปกรณ์ ร้อยละ 77.90
คำสำคัญ :ความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกร
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 13005 ครั้ง
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความครบถ้วนในการบันทึกผลภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวานของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ขึ้นทะเบียน ในโรงพยาบาลชุมชนคัดสรร จำนวน 270 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากทะเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวาน เป็นเพศชาย ร้อยละ 27.00 และหญิง ร้อยละ 73.00 อายุเฉลี่ย 57.20 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 59.40 กิโลกรัม ร้อยละ 61.10 ประกอบอาชีพเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 77.40 เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวานเฉลี่ย 5.8 ปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 71.60 เป็นโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย โดยมีระดับน้ำตาลในเลือดล่าสุด เฉลี่ย 161.8 มก./ดล. และร้อยละ 50.4 ไม่เคยขาดการนัดพบแพทย์ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน พบว่า (1) ภาวะแทรกซ้อนที่ไต ร้อยละ 45.20 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 45.00-96.00 (2) ภาวะแทรกซ้อนที่ตา ร้อยละ 46.70 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 46.00-58.00 (3) ภาวะแทรกซ้อนที่เท้า ร้อยละ 50.70 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 50.00-93.00 (4) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ร้อยละ 41.50 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 41.00-98.00 (5) ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร้อยละ 83.00 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 83.00-99.00 (6) ภาวะไขมัน ในเลือดสูง ร้อยละ 50.00 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 50.00-97.00 และ (7) ภาวะความดันโลหิตสูง ร้อยละ 54.80 โดยมีความครบถ้วนสมบูรณ์ของการบันทึกผลระหว่าง ร้อยละ 54.00-99.00
คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน.
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 17186 ครั้ง