วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 2 ฉบับที่ 9
img
บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความชุกของการฉีดยาโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ของประชากร 2) เพื่อศึกษา ประสบการณ์การได้รับการฉีดยาโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ 3) ผลที่ได้รับจากการฉีดยาโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงพรรณนา ทำการศึกษาในตำบลโนนสะอาด อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่นประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปในฐานข้อมูลประชากรของ รพ.สต. โดยสุ่มตัวอย่าง 281 คน เครื่องมือในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาโดยผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95ผลการวิจัยพบว่า ความชุกของประชากร ที่ฉีดยาโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ ร้อยละ 32.60 (95% CI 27.2, 38.5) เป็นเพศชายร้อยละ 31.40 เพศหญิงร้อยละ 33.80 อายุ 51.50 ปี (IQR=22.0) ใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา และอาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล สำหรับประสบการณ์การฉีดยา พบว่าอาการที่สำคัญที่สุดที่นำผู้ป่วยไปฉีดยา คือ อาการไข้ร้อยละ 52.20 และอาการสำคัญที่นำผู้ป่วยไปฉีดยาครั้งสุดท้ายคือ อาการไข้ ร้อยละ 38.90 โดยผู้ทำการฉีด ส่วนใหญ่เป็นหมอชาวบ้าน/เสนารักษ์ ร้อยละ 60.00 ซึ่งมักฉีดเข้ากล้าม ส่วนใหญ่หลังการ ฉีดยาเป็นการบรรเทาอาการ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น สรุปผลการศึกษา หนึ่งในสามของประชากร เคยได้รับการฉีดยาโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์ แม้ว่าส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่การฉีดยาโดยบุคลากรที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ อาจมีผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรมีการสร้างความเข้าใจถึงอันตรายจากการฉีดยาโดยที่ไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์แก่ชุมชนมากขึ้น

คำสำคัญ : การฉีดยา ใบสั่งยาจากแพทย์ ประสบการณ์การฉีดยา



Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1097 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019