มะลิวัลย์ เต็งสุจริตกุล*, ณัฐวุฒิ มิ่งขวัญ*,ธนากร วรรณกุล*, ปิยนุช รัตนโกเศศ*,
ธนาวุฒิ ทือกระโทก*, สุดารัตน์ หงส์โชคทวี*, สมเดช พินิจสุนทร**, มานพ คณะโต**
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อุบัติการณ์การบาดเจ็บจากของมีคมหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในนักศึกษาแพทย์ชั้นปี4 2) สัดส่วนที่รายงานและไม่รายงานอุบัติการณ์ 3) เหตุผลที่รายงานและไม่รายงานอุบัติการณ์กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาแพทย์ชั้นปี4 ปีการศึกษา 2555 ที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย รพ.ศรีนครินทร์ จานวน 150 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประเมินตนเองวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า อัตราการตอบกลับแบบสอบถามร้อยละ 91.3(137/150) พบอุบัติการณ์ ร้อยละ 52.6(72/137)[95%CI 45.7,63.2] รายงานร้อยละ 34.7(25/72) [95%CI 24.1,46.9] เหตุผล กลัวการติดเชื้อรุนแรง (ร้อยละ31.9) ไม่ทราบผลเลือดผู้ป่วย(ร้อยละ23.6) ทราบผลเลือดผู้ป่วยว่า anti-HIV, hepatitis profile positive (ร้อยละ18) ไม่รายงานร้อยละ 65.3(47/72) เหตุผล คิดว่าการบาดเจ็บไม่รุนแรงและความเสี่ยงต่า(ร้อยละ33.8) ทราบผลเลือดของผู้ป่วยว่า anti-HIV, hepatitis profile negative (ร้อยละ24.8) คิดว่าขั้นตอนยุ่งยาก เสียเวลา (ร้อยละ24) สรุปการศึกษาครั้งนี้พบว่า : ประชากรศึกษาประมาณครึ่งหนึ่งพบอุบัติการณ์ และจานวน 2 ใน 3 ไม่รายงานอุบัติการณ์เหตุผลที่ไม่ไปรายงาน คือคิดว่าเป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงและความเสี่ยงต่า เหตุผลที่ไปรายงานคือกลัวการติดเชื้อที่รุนแรง
คำสำคัญ : เหตุผล , รายงาน , อุบัติการณ์ , ของมีคม , สารคัดหลั่ง , นักศึกษาแพทย์
Key word : Reason, Report, Incidences, Needle stick injury, body substance , medical
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 3378 ครั้ง