บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการประวัติความเป็นมาและภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้าน 2) เพื่อศึกษาการปรับตัวในการรักษาของหมอชาวบ้าน กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) หมอกระดูกพื้นบ้าน 2) ผู้ป่วยที่มารักษา 3) ประชาชนในพื้นที่ศึกษา 4) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลรายวัน ใช้วิธีการเปรียบเทียบ เป็นปรากฏการณ์ แล้วนำมาตีความและวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่าหมอกระดูกพื้นบ้าน เป็นคนจังหวัดกระบี่โดยกำเนิดทั้งหมด นับถือศาสนาพุทธ การศึกษาส่วนใหญ่ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สามารถอ่านออกเขียนได้ ได้รับการถ่ายทอดความรู้ในการรักษาโรคกระดูกจากบิดาทุกคน หมอกระดูกพื้นบ้านมีกระบวนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนก่อนการรักษา 2) ขั้นตอนการรักษา 3) ขั้นตอนเสร็จสิ้นการรักษา และมีรูปแบบในการรักษาคือ มีการจัดกระดูก การใช้น้ำมันมะพร้าว การเข้าเฝือกไม้ไผ่ การใช้ยาสมุนไพร และการใช้คาถาอาคม ผู้ที่มารับการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ และพื้นที่จังหวัดใกล้เคียง มาด้วยอาการบาดเจ็บทางกระดูก เช่น กระดูกหัก แตก ร้าว ข้อเคลื่อน เลื่อนหลุด เป็นผู้ที่เคยรับการรักษาจากโรงพยาบาลมาแล้ว และผู้ที่มารับการรักษาโดยตรง
คำสำคัญ :ภูมิปัญญาหมอกระดูกพื้นบ้าน การปรับตัวในการรักษา
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 5150 ครั้ง