บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของครู และศึกษาคุณภาพการดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก เก็บรวบรวมข้อมูลจากครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ จำนวน 70 คน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงวิเคราะห์ด้วยสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปากของครูโดยรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 98.60 ปัจจัยนำในการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ด้านความรู้เรื่องโรคมือ เท้า ปาก อยู่ในระดับสูงมากที่สุด ร้อยละ 82.85 และมีทัศนคติในการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก อยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 51.42 ปัจจัยเอื้อในการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปากด้านความพอเพียงของทรัพยากรอยู่ในระดับสูงมากที่สุดร้อยละ 90.00 ปัจจัยเสริมในการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ด้านการได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด ร้อยละ 55.72ปัจจัยนำด้านความรู้และทัศนคติในการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ของครู ปัจจัยเอื้อด้านความพอเพียงของทรัพยากรในการควบคุมและป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ปัจจัยเสริมด้านการได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปัจจัยทั้ง 3 ด้าน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมป้องกันโรคมือ เท้า ปาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า .01
คำสำคัญ : การป้องกันโรคมือ เท้า ปาก ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของครู
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 7497 ครั้ง