วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 3 ฉบับที่ 4
img
บทคัดย่อ การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีประชากรศึกษา 780 คน และสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling ได้ 300 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในระหว่าง เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2558 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา Chi-square Test และการถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา พบว่าสตรีอายุ 30-60 ปี มีอายุเฉลี่ย 44.80 ปี โดยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 46-50 ปี (ร้อยละ 24.30) ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 70.70) มีสถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ87.00) จำนวนปีที่มีเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21-30 ปี (ร้อยละ 36.00) ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 71.30) ส่วนใหญ่จะไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปาก มดลูกคิดเป็น (ร้อยละ 75.00) สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกรายด้านของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าการรับรู้ของบุคคล และการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค มีคะแนนเฉลี่ยที่ส่งเสริมให้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับสูง ส่วนการรับรู้ความรุนแรงของโรคมีคะแนนเฉลี่ยที่ส่งเสริมให้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับต่ำ ส่วนปัจจัยร่วม พบว่า ตัวแปรด้านจิตสังคมและสิ่งชักนำให้ปฏิบัติมีคะแนนส่งเสริมให้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับสูง สำหรับปัจจัยความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ พบว่าการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและการรับรู้อุปสรรคของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีคะแนนส่งเสริมให้ไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับสูง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ แล้ว ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค (ORadj= 3.37, 95% CI = 0.20–0.71) สถานภาพการสมรส (ORadj = 2.54, 95% CI = 1.16-5.59) ด้านจิตสังคม (ORadj = 2.05, 95% CI = 1.08–3.89) และการรับรู้อุปสรรค (ORadj = 3.41, 95% CI = 1.92-6.08) คำสำคัญ : การไปรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีอายุ 30-60 ปี

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 4971 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019