วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
img
ประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรของวัยรุ่น ในเขตพื้นที่อาเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มนชนก พัฒน์คล้าย* , อารี พุ่มประไวทย์** , สาโรจน์ เพชรมณี*** บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นฯ ในพื้นที่อาเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานีเก็บรวบรวมข้อมูลจากหญิงวัยรุ่นที่มีประสบการณ์การตั้งครรภ์ ทั้งแบบพึงประสงค์และไม่พึงประสงค์ที่มีการตั้งครรภ์และการคลอด ตลอดจนมีการดาเนินชีวิตหลังการคลอดในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี จานวน 12 คน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผลการวิจัย พบว่า ก่อนการตั้งครรภ์พบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยง คือ มีมุมมองว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา ขาดความรู้การคุมกาเนิด มีการอบรมเลี้ยงดูที่ให้อิสระ เพื่อนชักจูงดื่มแอลกอฮอล์และนาไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ ส่วนในขณะตั้งครรภ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย หวาดกลัวและเป็นกังวล ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และหลายคนต้องออกจากงาน บางส่วนพยายามทาแท้ง แต่ก็ล้มเหลวจึงต้องตั้งครรภ์ต่อ และในขณะคลอด เกิดความรู้สึกหวาดกลัวความเจ็บปวด มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ไม่มีเงินหรือค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ลักษณะของการเลี้ยงดูบุตรนั้น หลังคลอดและช่วงเลี้ยงดู วัยรุ่นนาบุตรมาเลี้ยงด้วยตนเองและความช่วยเหลือจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาศัยความเข้าใจของครอบครัวเป็นกาลังใจ และมีการวางแผนอนาคต โดยตั้งใจจะกลับไปเรียนหรือกลับไปอยู่กับครอบครัวภายหลังคลอด และส่วนใหญ่ยกลูกให้มูลนิธิ สรุปผลการศึกษา พบว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นนั้น ควร บูรณาการด้วยการประสานงานและร่วมแรงร่วมใจกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้แก่ ครอบครัว ศาสนา ชุมชนท้องถิ่น สถานศึกษา และควรพัฒนาข้อมูลการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพื่อสะท้อนปัญหาสังคมในปัจจุบันให้เด่นชัด เพื่อสร้างความตระหนักปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร โดยเน้นกระบวนการสื่อสารอย่างทันสมัยเหมาะสมกับวัยรุ่น และสอดคล้องต่อการวางแผนและบริหารจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบ

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 4226 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019