ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสุขภาพของแรงงานพม่า
ที่ป่วยด้วยวัณโรค ในอาเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อุทุมพร กรองไชย* , อารี พุ่มประไวย์** , สาโรจน์ เพชรมณี***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฏการณ์วิทยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ปรากฏการณ์ วิถีการดาเนินชีวิต ตามประสบการณ์การเจ็บป่วยด้วยวัณโรคของแรงงานพม่า ที่มาทางานในประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ แรงงานพม่า ที่อาศัยในอาเภอเกาะพะงัน และ ได้รับการรักษาวัณโรค จากโรงพยาบาลเกาะพะงัน จานวน 7 ราย เป็นชาย 5 ราย หญิง 2 ราย ซึ่งมีอายุมากกว่า 25 ปี คาถามการวิจัย คือ แรงงานพม่า ให้ความหมายเกี่ยวกับ การเจ็บป่วยด้วยวัณโรคว่าอย่างไร และมีประสบการณ์ในการดูแลตนเองตั้งแต่เริ่มป่วย ระยะการเจ็บป่วย ระยะการฟื้นฟูสภาพอย่างไร ผู้วิจัยดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In- depth interview) และเป็นการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2528 – มกราคม 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนของโคไลซซี (Colaizzi) นาเสนอประสบการณ์ของผู้ให้ข้อมูลในภาพรวม
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ให้ข้อมูลเป็นชาย 5 ราย หญิง 2 ราย ส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 25 ปี โดยแรงงานพม่า ได้ให้ความหมายของการเจ็บป่วยวัณโรค คือ เมื่อเริ่มเจ็บป่วยจะไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไร มีอาการไอ ตัวร้อน และน้าหนักลด ส่วน ระยะเวลาการป่วยจะมีอาการ ไอมาก เหนื่อยหอบ รับประทานอาหารไม่ได้ ไม่มีแรง ต้องกินยาทุกวันจานวนวันละหลายเม็ด มีผื่นขึ้นทั่วตัว อยากเลิกกินยา และได้รับความเห็นอกเห็นใจจากเพื่อนและนายจ้าง ส่วนระยะเวลาการหายจากโรคพบว่าจะใช้เวลานานมาก มีอาการไอน้อยลง ต้องตรวจเสมหะและเอ็กซเรย์ปอด ส่วนประสบการณ์การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อป่วยวัณโรค พบว่าแรงงานพม่ายังขาดความรู้ ในการป้องกันและการดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วย แต่ มีทัศนคติที่ดีต่อโรค โดยเป็นโรคที่รักษาหาย สามารถป้องกันไม่ให้ติดต่อได้ และผู้ป่วยมีความหวังว่าถ้ารับประทานยาครบแล้วจะหาย และใส่หน้ากากอนามัยและทาความสะอาดที่อยู่อาศัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ นอกจากนี้ยังได้รับสวัสดิการและการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นอย่างดี และเมื่อร่างกายแข็งแรงสามารถกลับไปทางานได้ตามปกติ
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 2284 ครั้ง