ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลตนเองในผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลท่าสะท้อน อาเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นิภานันท์ สุขสวัสดิ์* , อารยา ปรานประวิตร** , สาโรจน์ เพชรมณี***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - experimental research) แบบสองกลุ่มและทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (The Pretest - Posttest Control Group Design) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังผลลัพธ์ในอนาคต พฤติกรรมการปฏิบัติตน และระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ขึ้นทะเบียนรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบลท่าสะท้อน อาเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีจานวน 40 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อการดูแลตนเองในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และการตรวจวัดระดับน้าตาลในเลือด สถิติที่ใช้ได้แก่ Independent samples t-test และ Paired samples t-test ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 – มกราคม 2559
ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมจะมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังผลลัพธ์ในอนาคต และพฤติกรรมการปฏิบัติตนสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่มีระดับน้าตาลในเลือดต่ากว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และภายหลังทดลอง พบว่าผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้เรื่องโรคเบาหวาน การรับรู้ความสามารถ
แห่งตน ความคาดหวังผลลัพธ์ในอนาคต และพฤติกรรมการปฏิบัติตนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แต่มีระดับน้าตาลในเลือดต่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 4296 ครั้ง