การพัฒนามาตรวัดความรู้เท่าทันสารเสพติดของคนไทย
กิตติมา โมะเมน* , มานพ คณะโต**
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดความรู้เท่าทันสารเสพติดของคนไทย ซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การประมวลข้อคาถาม 2) การหาความแม่นตรงตามตัวสร้างปัจจัย 3) การทดสอบความน่าเชื่อถือของแต่ละปัจจัย 4) การหาความแม่นตรงตามตัวสร้างของมาตรวัด 5) การทดสอบมาตรวัดตัวสร้างตามกรอบแนวคิด 6) การสร้างมาตร วัดใหม่ 7) การปรับภาษา และ 8) การทดลองใช้/ทดสอบความเป็นสากล โดยมีผู้เชี่ยวชาญจานวน 15 คน ร่วมพิจารณา ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Stratified three stages cluster sampling ในประชากรอายุ 12-65 ปี จานวนทั้งสิ้น 3,824 คน ทั่วประเทศ
มาตรวัดความรู้เท่าทันสารเสพติดที่พัฒนาขึ้นในครั้งนี้มี 2 ชุด ได้แก่ 1) มาตรวัดความรู้เท่าทันสารเสพติดฉบับมาตรฐานเป็นแบบสัมภาษณ์มีคาถามจานวนทั้งสิ้น 37 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน มีค่าดัชนีความแม่นตรงของเนื้อหา 0.650 ค่าความแม่นตรงเสมือน 0.648 ค่าความคงที่ภายในรวม 0.902 (ค่าความคงที่ภายในแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 0.739-0.975) ค่าความไว 0.714 ค่าความจาเพาะ 0.465 ค่าพยากรณ์ผลลบ 0.714 และค่าพยากรณ์ผลบวก 0.440 และ 2) มาตรวัดความรู้เท่าทันสารเสพติดฉบับย่อ เป็นแบบสอบถามแบบตอบเอง มีจานวนทั้งสิ้น 32 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน มีค่าดัชนีความแม่นตรงของเนื้อหา 0.860 ค่าความแม่นตรงเสมือน 0.667 ค่าความคงที่ภายในรวม 0.833 (ค่าความคงที่ภายในแต่ละด้านอยู่ระหว่าง 0.745-0.954) ค่าความไว 0.773 ค่าความจาเพาะ 0.314 ค่าพยากรณ์ผลลบ 0.707 และค่าพยากรณ์ผลบวก 0.393 ผลการสารวจความรู้เท่าทันสารเสพติดของคนไทยนาร่องได้ผลสอดคล้องกับผลการสารวจเพื่อประมาณการจานวนประชากรที่ใช้สารเสพติด ในประเทศไทยรวมถึงรายงานสถิติอื่นๆ ของทางราชการ มาตรวัดความรู้เท่าทันสารเสพติดที่สร้างขึ้นทั้งสองชุด ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก เหมาะสมที่จะใช้สารวจความรู้เท่าทันสารเสพติด เพื่อใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมต่อไป
คำสำคัญ : ความรู้เท่าทันสารเสพติด มาตรวัดความรู้เท่าทัน สารเสพติด
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1352 ครั้ง