ความรู้และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน
ในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชน อาเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
สิริญา ไผ่ป้อง* , สมเดช พินิจสุนทร**
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้และบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน (อสม.) ในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชน อาเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี ประชากรคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบได้ 337 คน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูล ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่าสุด ค่าสูงสุด
พบว่า อสม. เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.8 อายุเฉลี่ย 48 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ร้อยละ 33.5 สถานภาพสมรส ร้อยละ 85.5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 66.5 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน อสม. เฉลี่ย 12 ปี มีประสบการณ์ในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในหมู่บ้านร้อยละ 84.0 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ใน ขั้นตอนการสารวจและเก็บข้อมูล ร้อยละ 74.8 น้อยที่สุดคือการประเมินผล ร้อยละ 22.8
ความรู้ของอสม.เรื่องการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชนอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 51 โดยตอบคาถามในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชนได้มากที่สุด คือ การดาเนินงานตามแผนงาน เมื่อสินสุดโครงการแล้วต้องมีการประเมินผลร้อยละ 97.6 ข้อที่ตอบผิดมากที่สุด คือ การจัดทาแผนงานโครงการควรให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทาให้จึงจะมีความถูกต้องร้อยละ 53.7 บทบาทของ อสม. ในการวางแผนพัฒนาสาธารณสุขระดับชุมชนอยู่ในระดับสูงร้อยละ 60.5 บทบาทรายข้อพบว่าอสม.เขียนแผนงานโครงการด้วยตนเองน้อยที่สุด ร้อยละ 40.4 โดยส่วนใหญ่ทาร่วมกับกลุ่ม อสม. ร้อยละ 71.2 และกว่าครึ่งหนึ่งของอสม.มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจัดทาแผนงานโครงการให้ทุกขั้นตอน ร้อยละ 63.5
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 9385 ครั้ง