วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 4 ฉบับที่ 2
img
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยใช้เทคนิคกระบวนการ Appreciation Influence Control: บ้านช่องอินทนิน หมู่ 10 ตาบลตะกุกเหนือ อาเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อรพินท์ พรหมวิเศษ* , ชาตรี ประชาพิพัฒน์** , สาโรจน์ เพชรมณี*** บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้เทคนิคกระบวนการ Appreciation Influence Control ( AIC) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ แกนนาชุมชนและแกนนาสุขภาพ รวมทั้งสิ้น 56 คน ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก แบบสารวจลูกน้ายุงลาย การสนทนากลุ่มและการสังเกตการแบบมีส่วนร่วม ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ content analysis และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ดาเนินการวิจัยระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2558 – มกราคม 2559 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.29 การประชุมวางแผนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยใช้เทคนิคกระบวนการ AIC ได้แนวทางในการดาเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า การเปรียบเทียบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกหลังอบรมอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 75.00 และผลการสารวจค่าดัชนีลูกน้ายุงลาย พบว่า ก่อนการดาเนินการค่าดัชนีครัวเรือน (HI) เท่ากับ 41.31 ค่าดัชนีภาชนะ (CI) เท่ากับ 31.44 ค่าดัชนีบริโต (BI) เท่ากับ 62.52 หลังดาเนินการ ค่าดัชนีครัวเรือน (HI) เท่ากับ 8.20 ค่าดัชนีภาชนะ (CI) เท่ากับ 7.48 และค่าดัชนี บริโต (BI) เท่ากับ 18.64 ซึ่งลดลงจากก่อนดาเนินการและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข สรุปผลการศึกษา พบว่า การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกทาให้ประชากรมีความรู้เพิ่มขึ้น และผลการสารวจดัชนีลูกน้ายุงลาย พบว่า ค่าดัชนีความชุกลูกน้ายุงลายลดลง และผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนดไว้ ดังนั้นจึงควรนาแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนไปประยุกต์ใช้ในการดาเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกกับชุมชนอื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 10380 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019