การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
ประชุมพร กวีกรณ์* , ประเสริฐ ประสมรักษ์**
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้าตาลได้ ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา ในกลุ่มตัวอย่าง 313 คน ที่คานวณโดยใช้สูตรประมาณค่าเฉลี่ยประชากร กระบวนการวิจัยมี 4 ขั้นตอนคือ 1) สารวจภาวะสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย 2) สังเคราะห์รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด 3) ทดลองใช้รูปแบบที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 และ 4) คืนข้อมูลและรับฟังเสียงสะท้อน เพื่อปรับปรุงรูปแบบจากขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 78.6 อายุเฉลี่ย 57.68 ปี (S.D.=11.64) มีบิดา มารดา และหรือญาติสายตรงป่วยด้วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 57.5 มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดี ทั้งการออกกาลังกาย บริโภคอาหารที่ประกอบเอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไปรักษาตามนัดสม่าเสมอ ร้อยละ 94.9, 63.6, 92.7, 93.6 และ 92.0 ตามลาดับ มีระดับน้าตาลในเลือดในระดับสีเหลือง (ระหว่าง 126-154 มก./ดล.) ร้อยละ 78.3 ได้รูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือด ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางตามลักษณะปัญหา ภายหลังการทดลอง ทาให้ผู้ป่วยมีคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการทดลอง พบว่า ทั้งความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้าตาล พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้าตาลในเลือด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ <.001 ดังนั้น ควรขยายผลรูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้าตาลในเลือดไปสู่เขตพื้นที่อื่นๆ
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 13748 ครั้ง