ความเชื่อด้านสุขภาพและขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนตาบลหนองหัวคู อาเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
อนันต์ จันศร* , เสาวนันท์ บาเรอราช**
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบจาลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชนตาบลหนองหัวคู อาเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนอายุ 20 – 60 ปี จานวน 239 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเดือน ธันวาคม 2558 ได้รับแบบสอบถามตอบกลับ จานวน 215 คน คิดเป็นร้อยละ 89.96 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อย ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยคลอไทด์ ค่าต่าสุดและค่าสูงสุด
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเกินกึ่งหนึ่งมีการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ ที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร้อยละ 3.65 มีการรับรู้ทั้ง 6 ปัจจัยหลักตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ เพียงร้อยละ 39.5 และมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับ อยู่ในขั้นเริ่มพิจารณา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.0 ผู้วิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติม พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในขั้นปฏิบัติสม่าเสมอ มีการรับรู้ครบทั้ง 6 ปัจจัยหลักตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มากที่สุด ร้อยละ 59.6 และกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในขั้นลงมือปฏิบัติ พบว่า มีการรับรู้ 6 ปัจจัยหลักตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มากที่สุด เช่นเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 53.3 สาหรับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในขั้นเริ่มพิจารณา ยังคงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ พบว่า มีการรับรู้ที่ไม่เป็นไปตามทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มากที่สุด ร้อยละ 69.9
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 7266 ครั้ง