การปรับตัวของแรงงานข้ามชาติชาวลาวในบริบทด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดอุดรธานี
งามพิศ ศิริเวชดารง* , วริสรา ลุวีระ**
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาการปรับตัวของแรงงานข้ามชาติชาวลาวในบริบทด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมในจังหวัดอุดรธานีโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มในแรงงานข้ามชาติชาวลาวที่เข้ามาทางานในจังหวัดอุดรธานี จานวนทั้งสิ้น 23 ราย ช่วงระหว่างเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.17 มีอายุเฉลี่ย 27.21 ปี (18-47 ปี) ทุกคนประกอบอาชีพรับจ้างส่วนใหญ่กลุ่มแรงงานข้ามชาติชาวลาวที่เข้ามาทางานในจังหวัดอุดรธานีจะมีนายหน้าซึ่งเป็นคนรู้จักหรือเป็นญาติพี่น้องชักชวนให้มาทางาน การปรับตัวในด้านสุขภาพเมื่อแรงงานกลุ่มนี้เจ็บป่วยเล็กน้อยส่วนใหญ่จะซื้อยาหรือไปที่คลินิกและจ่ายเงินเอง แต่เมื่อเจ็บป่วยรุนแรงจะไปทาการรักษาที่โรงพยาบาล อย่างไรก็ตามพบว่าบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มแรงงานไม่มีความเข้าใจเรื่องสิทธิประโยชน์บัตรประกันสุขภาพในด้านการปรับตัวด้านเศรษฐกิจ กลุ่มแรงงานทุกคนพึงพอใจในรายรับของตนเอง ส่วนในด้านการปรับตัวด้านสังคม ในกลุ่มวัยรุ่น ส่วนใหญ่มีภาวะเครียด และเหงาในช่วงแรกๆที่มาทางาน เพราะถูกจากัดบริเวณ บางรายถูกหลอกลวง ไม่จ่ายค่าจ้าง กดขี่ข่มเหง และทาร้ายร่างกายในขณะที่กลุ่มผู้ใหญ่ จะมีการปรับตัวได้ดี เพราะอยู่กันเป็นกลุ่มญาติ คนบ้านเดียวกัน ในคนที่แต่งงานกับคนไทย ทุกคนไม่ได้จดทะเบียนสมรส เพราะว่า การจดทะเบียนสมรส จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 2817 ครั้ง