การพฒั นารูปแบบการดแู ลของผูป้่วยโรคไตวายเร้ือรงัระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตผู้ป่ วย โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา จังหวัดยโสธร กิติมา เศรษฐ์บุญสร้าง* , ประเสริฐ ประสมรักษ์** บทคัดย่อ การวิจัยและพัฒนาในครั ้งนี ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลของผู้ป่ วยโรคไตวาย เรื ้อรังระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบ าบัดทดแทนไตในด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต ของผู้ป่ วยที่รักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา โดยขั ้นที่ 1 ศึกษาสภาวะสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิตของผู้ป่ วยทั ้งหมด 87 คน ขั ้นที่ 2 สังเคราะห์รูปแบบการ ดูแลของผู้ป่ วยร่วมกับผู้ป่ วย ครอบครัว ชุมชน และคณะท างาน ขั ้นที่ 3 ศึกษาผลของรูปแบบการดูแล ผู้ป่ วยจ านวน 113 คน และขั ้นที่ 4 คืนข้อมูลรับฟังเสียงสะท้อนจากคณะท างาน เพื่อปรับปรุงรูปแบบ การดูแลผู้ป่ วย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่ วยไตวาย (KDQOL-36) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานด้วย Pearson correlation และ Paired T test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็ นเพศชายร้ อยละ 55.2 อายุเฉลี่ย 57.05 ปี (SD=12.39 ปี) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ ได้แก่ อาชีพ (p-value=.038) ความสามารถในการเปลี่ยนถ่ายน ้ายาด้วยตนเอง (p-value=.011) ระดับการศึกษา (p-value=.038)และสถานะสุขภาพ (p-value=.001) ผลจากขั ้นที่ 1 น ามาสังเคราะห์ได้รูปแบบการ ดูแลผู้ป่ วย 4 ขั ้นตอน คือ 1) ประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิต เพื่อระบุปัญหา รายบุคคล 2) ให้ความรู้ และฝึ กทักษะการดูแลตนเองแก่ผู้ป่ วยและญาติตามพฤติกรรมเสี่ยง 3) ติดตามดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เพื่อเสริมพลัง แก้ปัญหาระดับบุคคลจนกว่าปัญหาจะสิ ้นสุด 4) ประสานภาคีเครือข่ายในการดูแลแบบองค์รวม ภายหลังการน ารูปแบบไปใช้ดูแลผู้ป่ วย ท าให้ผู้ป่ วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง และคุณภาพชีวิต แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมี นัยส าคัญทางสถิติที่p-value<.001 ดังนั ้น จึงควรขยายผลการด าเนินงานเชื่อมโยงกับ Service plan ในระดับจังหวัด
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 23101 ครั้ง