รูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่ วยนอกและส่งเสริมสุขภาพ ป้ องกันโรคหน่วยบริการปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 7 สุมาลีจรุงจิตตานสุ นธิ์* บทคัดย่อ การศึกษาครั ้งนี ้เป็ นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลผู้ป่ วยนอกและส่งเสริมสุขภาพป้ องกันโรคหน่วยบริการ ปฐมภูมิเขตสุขภาพที่ 7 ท าการศึกษาระหว่าง 25 พฤศจิกายน 2558 ถึง 31 ตุลาคม 2559 เก็บ ข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม ( Focus group) กลุ่มตัวอย่างเป็ นคณะกรรมการพัฒนาข้อมูลข่าวสาร จังหวัดขอนแก่น เป็ นผู้ที่มีความรู้ดี (Key information)จ านวน 24 คน ท าการวิเคราะห์สภาพปัญหา คุณภาพข้อมูล จากนั ้นออกแบบรูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลเพื่อเป็ นต้นแบบแล้วน าไปทดสอบ ต้นแบบเบื ้องต้นในพื ้นที่จังหวัดขอนแก่น ทดสอบกับสภาพจริงในพื ้นที่เขตสุขภาพที่ 7 และปรับปรุง ก่อนน าไปใช้ วัดประสิทธิผลการใช้ต้นแบบด้วยค่าเฉลี่ยคุณภาพข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิง คุณภาพผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื ้อหา (Content Analysis) แล้วจึงสรุปแบบอุปนัย (Inductive) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standard Deviation) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคุณภาพข้อมูลในการทดสอบต้นแบบ ใช้สถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลควร มีการก าหนดนโยบายการพัฒนา คุณภาพในหน่วยบริการทุกระดับ โดยมีขั ้นตอนที่ส าคัญคือก าหนดขั ้นตอนการพัฒนา การก าหนด ขอบเขตปัญหา ก าหนดวิธีการวัดผลคุณภาพข้อมูล โดยเลือกตัวแปรที่ส าคัญในการวัดคือประชากร การให้วัคซีน อนามัยแม่และเด็ก โรคเรื ้อรัง การให้รหัสโรค และการส่งต่อ มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่ ท าให้เกิดปัญหาเพื่อน าไปสู่การปรับปรุงคุณภาพ รวมถึงมีการควบคุมก ากับ และคืนข้อมูลไปยัง หน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพข้อมูลที่ต่อเนื่องและยั่งยืน ในด้านผลการทดสอบ การใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพข้อมูลเบื ้องต้น(trial test) และทดสอบกับสภาพจริง (system run test) พบว่าค่าเฉลี่ยของคุณภาพข้อมูลมีความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p value <0.001)โดยมีค่าเฉลี่ยคุณภาพข้อมูลเพิ่มขึ ้นหลังจากใช้รูปแบบการพัฒนาโดยมีค่าเฉลี่ยของความ แตกต่าง 0.44 คะแนน (95% CI : 0.40ถึง 0.48)และ0.36 คะแนน (95% CI : 0.34 ถึง 0.39) ตามล าดับ
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 2495 ครั้ง