การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการออกกาลังกายของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
เกสินี มีชัย*, ประชุมพร กวีกรณ์*, ประเสริฐ ประสมรักษ์**
บทคัดย่อ
การวิจัยผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการส่งเสริมการออกกาลังกายของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยโสธร ในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป จานวน 317 คน และตัวแทนชมรมออกกาลังกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 ร่วมกับแบบสัมภาษณ์และแบบบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ด้วย Chi-square test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 56.5% อายุเฉลี่ย 43.54 ปี (S.D.=15.75) เป็นข้าราชการ 36.3% จบการศึกษาระดับปริญญาตรี 45.4% มีปัญหาสุขภาพ 46.1% มีค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 23.03 กก./ม.2 (S.D.=3.15) เส้นรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 62.8% รับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ 80.1% ไม่สูบบุหรี่91.5% ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 57.7% ออกกาลังกายสัปดาห์ละ 4-5 ครั้ง 43.9% ระยะเวลาเฉลี่ยต่อวัน 63.46 นาที (S.D.=33.47) เหตุผลที่ออกกาลังกายสม่าเสมอเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง 71.9% รูปแบบการส่งเสริมการออกกาลังกาย ประกอบด้วย 1) เพิ่มการเข้าถึงการกิจกรรม อุปกรณ์ออกกาลังกาย 2) ร่วมกับหน่วยงานราชการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการออกกาลังกาย 3) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมการออกกาลังกาย 4) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ สร้างกระแสออกกาลังกายอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลทุก 3 เดือน ดังนั้นจึงควรนารูปแบบนี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ และขยายผลสู่อาเภออื่นๆ
คำสำคัญ: ออกกาลังกายสม่าเสมอ กีฬาเพื่อสุขภาพ
* สานักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
** โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอานาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล
Corresponding author : Prasert Prasomrak. Email: ps.tongmark@gmail.com
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1052 ครั้ง