บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (quasi experimental) มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ประชากร คือ ผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ตาบลคลองฉนวน อาเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จานวน 280 คน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 30 คน เลือกเข้ากลุ่มควบคุมและทดลองโดยแบบเจาะจง (Purposive sampling) กลุ่มทดลองได้รับการใช้กระบวนการกลุ่ม ระยะเวลาการอบรม 1 วัน ประกอบด้วย กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมละลายพฤติกรรม การให้ความรู้และเพิ่มการรับรู้ แบ่งเป็น 3 ฐาน การเยี่ยมบ้านในสัปดาห์ที่ 2 และ 6 รวมถึงนัดหมายการรวมกลุ่มในสัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มควบคุมได้รับการให้ความรู้ตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ ด้านอาหาร ด้านออกกาลังกาย ด้านอารมณ์และการจัดการความเครียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จานวนความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Independent t–test และ paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร ด้านการออกกาลังกาย ด้านอารมณ์และการจัดการความเครียด ดีกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ กลุ่มทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ด้านอาหาร ด้านการออกกาลังกาย ด้านอารมณ์และการจัดการความเครียด ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ ส่งเสริมสุขภาพ กระบวนการกลุ่ม
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 427 ครั้ง