บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research ) ชนิดกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว (one group pre-post test designed) วัดผลโดยเปรียบเทียบความรู้การปฏิบัติตน รวมทั้งแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการบริโภคและการออกกาลังกายของเด็กที่มีน้าหนักเกินมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จานวน 35 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา = 0.78, 0.80, 0.85, 0.80 และ 0.75 ประกอบด้วย ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคอ้วนและน้าหนักเกิน ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วนและน้าหนักเกิน ด้านการรับรู้ประโยชน์ในการควบคุมน้าหนัก ด้านการปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และ ด้านการปฏิบัติตัวในการออกกาลังกายที่เหมาะสม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังทดลองนักเรียน มีระดับการรับรู้ด้านความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนและการควบคุมน้าหนัก ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคอ้วนและน้าหนักเกิน ด้านการรับรู้ความรุนแรงของโรคอ้วนและน้าหนักเกิน ด้านการรับรู้ประโยชน์ในการควบคุมน้าหนัก ด้านการปฏิบัติตัวในการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการปฏิบัติตัวในการออกกาลังกายที่เหมาะสม มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value <0.05) และ 2) หลังทดลองนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคและการออกกาลังกาย มากกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p<0.05)
คำสำคัญ : เด็กที่มีน้าหนักเกินมาตรฐาน, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกาลังกาย
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1617 ครั้ง