วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 7
img
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีน้าหนักเกิน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต จานวน 35 คน ใช้แบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา = 0.92 ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและการออกกาลังกาย การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกาลังกาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้าหนักเกิน มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน การรับรู้ความสามารถแห่งตน ความคาดหวังในผลลัพธ์และพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกาลังกาย ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. หลังทดลอง นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้าหนักเกิน มีค่าเฉลี่ยน้าหนักตัวลดลง โดยก่อนทดลองมีน้าหนักตัวเริ่มอ้วน (25.0-29.9 kg/ m2) คิดเป็นร้อยละ 57.14 และ หลังทดลอง มีน้าหนักตัวสมส่วน (18.5-22.9 kg/ m2) คิดเป็นร้อยละ 68.57 คำสำคัญ : ทฤษฎีความสามารถของตนเอง น้าหนักเกิน การบริโภคอาหารและการออกกาลังกาย

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 4706 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019