วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 5 ฉบับที่ 9
img
บทคัดย่อ การวิจัยแบบ Cross-sectional descriptive study เพื่อสารวจการบริโภคอาหารและวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์มีอายุครรภ์ในไตรมาสแรกที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลในจังหวัดมหาสารคาม จานวน 96 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การรับประทานอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง แบบสัมภาษณ์ความถี่ในการบริโภคอาหาร และตรวจหาปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะด้วยวิธี Ammonium persulfate สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าควอไทด์ ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์มีอายุเฉลี่ย 24.8 ปี มีอายุครรภ์ 10-13 สัปดาห์ ร้อยละ 59.4 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 36.5 ทุกคนบริโภคเกลือไอโอดีน (ร้อยละ 100.0) และรับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีน (ร้อยละ 92.7) ส่วนใหญ่หญิงตั้งครรภ์ได้รับพลังงาน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินบางชนิดที่ต่ากว่าเกณฑ์ เมื่อเทียบกับปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจาวันสาหรับคนไทย พ.ศ.2546 และพบว่ามีค่ามัธยฐานของระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์เท่ากับ 249.7 μg/l โดยปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ (150 – 249 μg/l) ร้อยละ 56.2 และระดับเกิน (250-499 μg/l) ร้อยละ 43.8 นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ที่รับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกวัน มีปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะในระดับเกินถึง ร้อยละ 46.1 สรุปผลการศึกษา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับปริมาณพลังงานและสารอาหารไม่เพียงพอในแต่ละวัน และหญิงตั้งครรภ์บางส่วนมีปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะอยู่ในระดับเกิน ดังนั้นจึงควรให้คาแนะนาทางโภชนาการสาหรับหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้บริโภคอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอในแต่ละช่วงอายุครรภ์และควรเฝ้าระวังความเสี่ยงที่จะได้รับปริมาณไอโอดีนมากในหญิงตั้งครรภ์ด้วย คำสำคัญ : ปริมาณไอโอดีนในปัสสาวะ การบริโภคอาหาร หญิงตั้งครรภ์

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 3031 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019