บทคัดย่อ การศึกษาครั ้งนี ้เป็ นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุ บ้านสร้ างบง-นาดี ต.ผาสุก อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง จ านวน 92 คน เก็บข้อมูลโดย วิธีการสังเกต และสัมภาษณ์เจาะลึก ท าการวิเคราะห์ข้อมูลแบบContent Analysis ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อายุ 70-79 ปี (ร้ อยละ 40)เป็ นเพศหญิง (ร้ อยละ 70) ผู้ดูแลในครอบครัว เป็ นบุตรของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 80) มีโรคประจ าตัว (ร้ อยละ 46.7) ค่ารอบเอวเกินมาตรฐาน (ร้ อยละ 53.3) ค่าดัชนีมวลกายเฉลี่ย 22.64 kg/m2 การปฏิบัติกิจวัตรประจ าวัน (ADL) ไม่เป็ นภาวะพึ่งพา (ร้อยละ 100) การปฏิบัติกิจวัตรประจ าวันขั ้นสูงโดยมีอุปกรณ์มาเกี่ยวข้อง (IADL) ไม่เป็ นภาวะพึ่งพา (ร้ อยละ 80) ไม่เป็ นโรคซึมเศร้ า(ร้ อยละ 90) ส่วนใหญ่มีความต้องการในการจัดการสุขภาพด้าน บุคลากร ผู้ให้ค าปรึกษา ผู้ดูแล จิตอาสา รองลงมา ด้านงบประมาณและการจัดการอย่างคุ้มค่า สะท้อนประเด็นในการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ คือ ระบบการจัดการฐานข้อมูลผู้สูงอายุในชุมชน การ ใช้ Core Team คือ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนมีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความใกล้ชิด ทราบข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุ และให้บริการได้รวดเร็ว ข้อเสนอแนะของการวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุต้องให้ผู้สูงอายุมี ส่วนร่วมตั ้งแต่ระยะเริ่มต้น ท าการประเมินความต้องการในการดูแลสุขภาพ การวางแผน การ ประเมินผล การปรับปรุง และพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุให้เกิดความมั่นใจที่จะน าไปปฏิบัติในการ ดูแลสุขภาพของตนเอง มีกระบวนการพัฒนาข้อตกลงร่วมกันในการสร้ างรูปแบบการจัดการสุขภาพ ผู้สูงอายุอย่างยั่งยืนในระดับพื ้นที่ สร้ างความร่วมมือของเครือข่าย น าพลังและความสามารถของ ผู้สูงอายุมาใช้ ในการจัดการระบบดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพ และ ประโยชน์อย่างยั่งยืน
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 591 ครั้ง