บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุระเบียบวิธีศึกษาเป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study)โดยนำทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) มาประยุกต์ใช้ประชากร ได้แก่ ผู้สูงอายุ จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม– ธันวาคม 2561 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ ไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.0 มีอายุระหว่าง 70-79 ปี ร้อยละ 46.3 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 56.3 ไม่ได้ทำงานร้อยละ 53.6 รายได้ต่อเดือน ระหว่าง 500-1,000 บาท มีโรคประจำตัวร้อยละ 71.4 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 53.6 ไม่มีความกังวลหรือความเครียดกับโรคที่เกิดขึ้น ร้อยละ 75.9 อยู่อาศัยกับลูก/หลาน ร้อยละ 63.4 มีความสัมพันธ์ ในครอบครัวดี ร้อยละ 83.0 เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ร้อยละ 48.2
ด้านกลไกลการป้องกันทางจิต พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนกลไกการป้องกันทางจิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 2.62,SD=.408) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปฏิบัติทุกครั้ง ( = 2.65, SD=.207) การประเมินภาวะซึมเศร้า โดยใช้แบบประเมิน 2Q พบว่า ผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 56.3 อย่างไรก็ตามเมื่อใช้แบบประเมิน 9Q พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้า อยู่ในระดับไม่มีอาการ/น้อยมาก (=.31, SD=.352) ร้อยละ 88.4
ด้านความสัมพันธ์ของตัวแปร พบว่า ความกังวลหรือความเครียดกับโรคที่เกิดขึ้น การอยู่อาศัยมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) กลไกการป้องทางจิต มีความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 520 ครั้ง