บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทใหม่
แบบการวิจัย ในการศึกษาครั้งนี้ ใช้รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ Population based nested case-control study ในประชากรอายุ 15-64 ปี จากการสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศในปี 2559จำนวน30,411 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ NPS ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา จำนวน 2,955 คน และกลุ่มที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และอายุใกล้เคียงกัน จำนวน 2,955 คน เท่ากัน
เครื่องมือและการเก็บข้อมูล ใช้แบบสัมภาษณ์ทำการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัวในที่พักอาศัยของกลุ่มตัวอย่าง
การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้ค่า Odds ratio, ไคว์สแคว์, multiple logistic regression, 95%CI
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-64 ปี โดยกลุ่มศึกษา คิดเป็นร้อยละ 87.99 กลุ่มควบคุม ร้อยละ 87.92 และมีระดับการศึกษาที่ใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่มีงานทำ และมีสุขภาพดีมีประวัติการเข้ารับการบำบัดสารเสพติด และประวัติอาชญากรรม ใกล้เคียงกันการศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ NPS เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวน พบว่า เพศชายผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ไม่เคยเสพกัญชา และผู้ที่ไม่เคยมีประวัติการจับกุมหรือการดำเนินคดีมีโอกาสใช้สาร NPS มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทใหม่, ปัจจัยเสี่ยงประเทศไทย
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 582 ครั้ง