วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 7 ฉบับที่ 7
img
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการรายกรณีผู้ป่วยเด็กโรค โดยใช้กระบวนการจัดการรายกรณีในการแก้ปัญหาการกำเริบของโรคหืด ในเด็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอายุ 6-15 ปี จำนวน 26 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ว่า เป็นโรคหืดซึ่งอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือตรวจสมรรถภาพปอด แบบสอบถามการควบคุมโรคหืดของสมาคมโรคหืดแห่งประเทศไทย และแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคหืด การวิเคราะห์ข้อมูลโดย วิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบสมรรถภาพปอด ระดับความรุนแรงของโรคหืดของเด็กโรคหืดก่อนและหลังทดลองโดยใช้สถิติทีแบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพปอดก่อนการทดลองคิดค่าร้อยละของค่ามาตรฐาน อยู่ในระหว่าง 37.29 – 100.00 และสมรรถภาพปอดหลังการทดลองคิดร้อยละของค่ามาตรฐาน อยู่ในระหว่าง 55.00 – 141.17 ระดับความรุนแรงของโรคหืดก่อนทดลองส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 3 ร้อยละ 46.2 รองลงมาเป็นระดับ 2 และ 5 ร้อยละ 19.2 และระดับความรุนแรงระดับ 1 ร้อยละ 15.4 และระดับความรุนแรงของโรคหืดหลังทดลองส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงระดับ 1 ร้อยละ 76.9 รองลงมาระดับ 3 ร้อยละ 11.5 ระดับ 2 ร้อยละ 7.7 และระดับ 4 ร้อยละ 3.8 สมรรถภาพปอด ก่อนทดลองมีความแตกต่างกับหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับความรุนแรงของโรคหืดก่อนทดลองมีความแตกต่างกับหลังทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ: โรคหืดในเด็ก, การจัดการรายกรณี

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 475 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019