วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 8 ฉบับที่ 2
img
สุณีรัตน์ ยั่งยืน*, สวรรค์ ธิติสุทธิ* บทคัดย่อ การวิจัยชนิดภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เท่าทันสารเสพติดกับการดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 360 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ และ Multinomial logistic regression ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 51.1) มีอายุเฉลี่ย 19.6 ปี มีความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูง ร้อยละ 60.6 และมีความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบของการดื่มแอลกอฮอล์ระดับสูง ร้อยละ 50.6 ดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 52.3 และมีความรู้เท่าทันสารเสพติดระดับสูง ร้อยละ 73.6 ส่วนพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ดื่มแบบมีความเสี่ยงตํ่า ร้อยละ 36.7 และดื่มแบบเสี่ยง ร้อยละ 15.6 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เท่าทันสารเสพติดกับการดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อควบคุมตัวแปรกวน พบว่า ความรู้เท่าทันสารเสพติดระดับตํ่ามีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของการดื่มแอลกอฮอล์แบบเสี่ยง และการดื่มแบบมีความเสี่ยงตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (aOR=2.96, 95%CI: 1.35,6.48; aOR=2.62, 95%CI: 1.36, 5.03 ตามลำดับ) ผลการศึกษาชี้ว่า พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาได้รับอิทธิพลมาจากความรู้เท่าทันสารเสพติด ดังนั้นการป้องกันและลดโอกาสเสี่ยงต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา ควรมีการพัฒนาทักษะความรู้เท่าทันสารเสพติดให้กับนักศึกษาด้วย คำสำคัญ: ความรู้เท่าทันสารเสพติด, การดื่มแอลกอฮอล์, นักศึกษา

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 658 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019