สุพัฒตรา ศรีภักดี*, บุษบา สมใจวงษ์**,จรี ชุติธาดา*, รัตดาพร ศิริแสงตระกูล*,
อมรรัตน์ ทองสวัสดิ*์, อรรถพล ติตะปัญ***
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผล ของแนวปฏิบัติการพยาบาลต่อระดับการเคลื่อนไหว ภาวะท้องอืดในผู้ป่ วยมะเร็งท่อนํ้าดีหลังผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่ วยมะเร็งท่อนํ้าดีหลังผ่าตัดในหอผู้ป่ วยวิกฤต ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 – มกราคม 2563 จํานวน 38 ราย แบ่งเป็นกลุ่มละ 19ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามแนวปฏิบัติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากพยาบาลที่ผ่านการอบรม จํานวน 42 ท่าน ผู้ป่ วยได้รับการสอนด้วยสื่อวีดีทัศน์ และคู่มือการเคลื่อนไหววันละ 2 ครั้ง ประเมินผลทั้งสองกลุ่มโดยใช้ ICU mobility scale แบบประเมินท้องอืด โดยเก็บข้อมูลในวัน แรกและก่อนจําหน่ายผู้ป่ วย ประเมินความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติ Fisher's exact test และIndependent t-test ผลวิจัยพบว่า ระดับการเคลื่อนไหวกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยคะแนนและความรุนแรงภาวะท้องอืดกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และความพึงพอใจของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติโดยรวม อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด การวิจัยนี้พบว่า แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น สามารถเพิ่มระดับการเคลื่อนไหวและลดภาวะ ท้องอืด ดังนั้นจึงควรนํามาประยุกต์ใช้เพื่อดูแลผู้ป่ วยมะเร็งท่อนํ้าดีหลังผ่าตัดในหอผู้ป่ วยวิกฤตต่อไป
คําสําคัญ: แนวปฏิบัติการพยาบาล, ระดับการเคลื่อนไหว, ภาวะท้องอืด, มะเร็งท่อนํ้าดีหลังผ่าตัด
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 418 ครั้ง