วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 8 ฉบับที่ 3
img
ขนิษฐา ทุมา*, ผกาพรรณ ทันแก้ว**, สุภาพร สระแก้ว**, ธีระ ผิวเงิน*, อนรรฆอร จิตต์เจริญธรรม*, พิชาพัชร์ ฐิติธนอภิพงษ์* บทคัดย่อ งานวิจัยกึ่งทดลองเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการประคบเต้านมด้วยกะหลํ่าปลีสด และลูกประคบสมุนไพรสด ต่อความปวดตึงเต้านม และปริมาณการไหลของนํ้านมในหญิงหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังคลอดครรภ์แรกที่มารับบริการงานห้องคลอด โรงพยาบาลบุณฑริก จํานวน 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กําหนด แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ประคบเต้านมด้วยกะหลํ่าปลีสดและกลุ่มที่ประคบด้วยสมุนไพรสดกลุ่มละ 30 คน วัสดุที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วยลูกประคบสด กลีบใบกะหลํ่าปลีสด เครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกปริมาณนํ้านม และแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกนี้ ทดสอบค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน independent t-test และ Mann-Whitney- Wilcoxon test ผลวิจัยพบว่า หลังจากประคบเต้านมติดต่อกัน 5วัน ด้วยการใช้กะหลํ่าปลีสดสามารถลด อาการปวดตึงเต้านมได้ดีกว่าการประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพร อย่างมีระดับนัยสําคัญทาง สถิติ ส่วนการประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพรมีปริมาณนํ้านมไหลออกมามากกว่าการประคบ เต้านมด้วยกะหลํ่าปลี การประเมินความพึงพอใจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างพึงพอใจการประคบเต้านม ด้วยกะหลํ่าปลีมากกว่าการประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพร ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็น ประโยชน์ของการนําสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรับใช้ในชีวิตประจําวัน ลดการใช้ยาที่ทําให้เกิดผล ข้างเคียงกับร่างกาย อีกทั้งช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนํ้านมมารดา ต่อไป คําสําคัญ: ลูกประคบสมุนไพร, กะหลํ่าปลี, หญิงหลังคลอดครรภ์แรก, อาการปวดตึงเต้านม, การประคบเต้านม

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 440 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019