ณัฐกฤตา ทุมวงศ์*
บทคัดย่อ
การใช้เมทแอมเฟตามีนเป็นปัญหาสําคัญในระบบบริการสุขภาพ การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายปั จจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรุนแรงในครอบครัว ในผู้ใช้เมทแอมเฟตามีน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ใน 3 จังหวัด (หนองบัวลําภู, ศรีสะเกษ, ร้อยเอ็ด) สุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่มได้1,219 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ, ไคสแควร์, อัตราส่วนออด, ช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 กลุ่มตัวอย่าง 1,219 คน พบความรุนแรงในครอบครัวร้อยละ 28.10 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ ความถี่ในการใช้เมทแอมเฟตามีน, ปริมาณการใช้เมทแอมเฟตามีน, รายได้และสถานภาพสมรส มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยกลุ่มมีรายได้มีโอกาส เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงน้อยกว่ากลุ่มไม่มีรายได้ร้อยละ 37(OR 0.637,95% CI 0.478-0.849) กลุ่มโสดมีโอกาสเกิดความรุนแรงมากกว่า กลุ่มมีคู่ ร้อยละ14(OR 1.480,95% CI1.099-1.994) ความรุนแรงในครอบครัวเป็นผลกระทบสําคัญจากการใช้เมทแอมเฟตามีน ในกระบวนการ บําบัดควรคํานึงถึงและมีการจัดการเพื่อลดความรุนแรงในครอบครัว
คําสําคัญ: เมทแอมเฟตามีน, ประเทศไทย, ความรุนแรงในครอบครัว
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว ครั้ง