วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 8 ฉบับที่ 8
img
ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัย*, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง* บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมและรายด้าน ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2561 และยินดีเข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้จํานวน 330 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าจํานวนร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.03 มีอายุในช่วง 21-25 ปี ร้อยละ 63.33 มีภูมิลําเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 93.03 ผู้ดูแล นักศึกษา คือ บิดา-มารดา ร้อยละ 93.94 ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจําตัว ร้อยละ 95.46 มีดัชนีมวลกาย อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 74.24 และแหล่งของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมากที่สุด คือ Facebook ร้อยละ 75.75 พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ˉx=2.93, SD. = 0.37) เมื่อ พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่อยู่ในระดับดี ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (xˉ= 3.39, SD. = 0.53) ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ (xˉ= 3.21, SD. = 0.5) และด้านการจัดการกับความเครียด (ˉx= 3.15, SD. = 0.49) และมี 3 ด้านที่พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ (ˉx= 2.65, SD. = 0.71) ด้านการออกกําลังกาย (xˉ= 2.54, SD. = 0.67) และด้านโภชนาการ (ˉx= 2.7, SD. = 0.4) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมพฤติกรรมสร้าง เสริมสุขภาพให้กับนักศึกษาพยาบาลโดยการให้ความรู้ และจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอย่าง ต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ ด้านการออกกําลังกาย และด้านโภชนาการ เพื่อให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม และเป็นแบบอย่างที่ดีในด้าน สุขภาพต่อไป คําสําคัญ: การสร้างเสริมสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 608 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019