ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเล่นการพนันกับการใช้สารเสพติด
ของวัยรุ่นในสถานศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
พูนรัตน์ ลียติกุล*, รังสิยา วงศ์อุปปา*, ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล**
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเล่นการพนัน และการใช้สารเสพติดของวัยรุ่นในสถานศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน/นักศึกษาสถาบันการศึกษาเอกชน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาถึงอุดมศึกษา จำนวน 2,497 คน ในสถานศึกษา 3 แห่ง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในปีการศึกษา 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วย Chi Square, Odd Ratio (OR) และ 95% confidence interval
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 55.2 อายุเฉลี่ย 17.7 ปี มีการเล่นการพนันถึงหนึ่งในสาม โดยมีอายุเฉลี่ยของการเล่นการพนันครั้งแรก 14.5 ปี (SD 3.19) โดยเกินครึ่งเป็นการเล่นการพนันประเภทไพ่ ประสบการณ์การใช้สารเสพติด พบว่าเคยใช้สารเสพติดร้อยละ 10.1 สารเสพติดที่เคยใช้เป็นกัญชามากที่สุดร้อยละ 4.7 รองลงมาเป็นยาบ้าร้อยละ 2.2 ยาไอซ์ ร้อยละ 1.7 ร้อยละ 5.6 เคยเล่นการพนัน และใช้สารเสพติด วัยรุ่นที่เล่นการพนัน และใช้สารเสพติด มีผู้ที่เล่นการพนันก่อนใช้สารเสพติดมากถึงร้อยละ 54.8 ผู้ที่เริ่มเล่นการพนันพอ ๆ กับเริ่มใช้สารเสพติดพบร้อยละ 27.9 ส่วนผู้ที่ใช้สารเสพติดมาก่อนการเล่นการพนันพบเพียงร้อยละ 17.3
การติดการพนันเปรียบเสมือนการติดสารเสพติด วัยรุ่นในสถานศึกษาที่เล่นการพนัน มีโอกาสเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติดเป็น 4 เท่าของผู้ไม่เล่นการพนัน (COR = 4.803, 95%CI = 3.575 – 6.454, P-value <0.001)
คำสำคัญ: การพนัน, สารเสพติด, วัยรุ่น
Keywords: Gambling, Drug, Adolescence
* คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
**คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 383 ครั้ง