การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์และความผิดปกติ
ของระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อของพนักงานโรงงานปุ๋ยอินทรีย์
ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
วนิษฐา ปักษีเลิศ*, กาญจนา นาถะพินธุ*, พูนรัตน์ ลียติกุล**
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ร่วมกับแบบประเมินการสังเกตท่าทางการทำงานเพื่อประเมินความเสี่ยงโดยใช้แบบประเมิน REBA และ NIOSH Lifting Equation และหาความชุกของการเกิดกลุ่มอาการผิดปกติของระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในพนักงานแผนกผลิต และแผนกบรรจุกระสอบโรงงาน ปุ๋ยอินทรีย์ ตำบลโคกกรวด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 คน
ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ใน 7 วันที่ผ่านมา พบว่าพนักงานแผนกผลิตมีอาการปวดสูงสุดบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 36.21 รองลงมาปวดบริเวณไหล่ ร้อยละ 32.76 และปวดบริเวณหัวเข่า ร้อยละ 29.31 ตามลำดับ และพนักงานแผนกบรรจุกระสอบมีอาการปวดสูงสุดบริเวณหลังส่วนล่าง ร้อยละ 51.35 รองลงมา ปวดบริเวณเท้า ร้อยละ 29.73 และบริเวณไหล่ ร้อยละ 27.03 ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน NIOSH Lifting พบว่า พนักงานแผนกบรรจุกระสอบมีดัชนีการยกมากกว่า 1 ร้อยละ 72.97 และผลการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ด้วยแบบประเมิน REBA ในพนักงานแผนกผลิต พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.00 ซึ่งมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ 3 รองลงมา คือ ร้อยละ 36.21 มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ 4 มีความเสี่ยงสูง และร้อยละ 6.90 มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ 5 มีความเสี่ยงสูงมาก พบว่ากาแฟเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านการยศาสตร์
คำสำคัญ: การยศาสตร์, การประเมินความเสี่ยง, ท่าทางการทำงาน
Keywords: Ergonomics, risk assessment, working posture
*คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 362 ครั้ง