วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 9 ฉบับที่ 8
img
ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดภูเก็ต
กุสุมา สว่างพันธุ์*
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ จังหวัดภูเก็ต เป็นการศึกษาแบบ Retrospective study มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ของจังหวัดภูเก็ต โดยทำการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ทุกรายในจังหวัดภูเก็ตที่มีผลตรวจยืนยันพบเชื้อ (Bacteriologically confirmed: B+) และผู้ป่วยที่วินิจฉัยด้วยลักษณะทางคลินิก (Clinically diagnosed: B-) ขึ้นทะเบียนรักษาระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 จำนวนทั้งสิ้น 3,832 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกจากฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา Chi-square test และ Multiple logistic regression
ผลการศึกษา พบว่า อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ ร้อยละ 87ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่ พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาเพียง 0.28 เท่าของกลุ่มอายุน้อยกว่า 25 ปี (95% CI = 0.18 – 0.45) ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวก่อนเริ่มการรักษา 40 กิโลกรัมขึ้นไป มีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษา 1.6 เท่า ของกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 40 กิโลกรัม (95% CI = 1.15 – 2.22) ผู้ป่วยที่มีโรคร่วมมีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาเพียง 0.24 เท่าของกลุ่มที่ ไม่มีโรคร่วม (95% CI = 0.19 – 0.29) และผู้ป่วยที่มีความหนาแน่นของเชื้อแบคทีเรีย 3 บวก (3+) ขึ้นไป เมื่อเริ่มการรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จในการรักษาเพียง 0.63 เท่าของกลุ่มที่มีเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่า 3 บวก ( 3+) (95% CI = 0.49 – 0.79)
คำสำคัญ: วัณโรคปอด, ปัจจัย, ความสำเร็จของการรักษา
Keywords: Pulmonary tuberculosis, Factor, Treatment success
* สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต


Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 296 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019