3.การวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมสุขภาพที่สัมพันธ์กับการสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ครรชิต หนากลาง*, สิงหา จันทริย์วงษ์**, กิ่งเพชร ส่งเสริม**, ปิยศักดิ์ สีดา**
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมสุขภาพ ที่สัมพันธ์กับการสาธารณสุขของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน บุคลากรด้านสาธารณสุข และประชาชนทั่วไป 500 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงตามเนื้อหา 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2564 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.00 อายุระหว่าง 51-60 ปี ร้อยละ 32.60 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 72.20 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 36.40 อาชีพเกษตรกร ร้อยละ 56.20 มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 5,000-10,000 บาท ร้อยละ 42.00 การวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบของวัฒนธรรมสุขภาพสามารถจัดได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์กรและการปฏิสัมพันธ์ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 14.42 (2) บรรทัดฐาน อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 10.43 (3) ขนบธรรมเนียม/ประเพณี อธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 10.26 (4) การสื่อสารและเทคโนโลยี อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 8.09 (5) ค่านิยม อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.84
ดังนั้น จึงควรส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพเหล่านี้ เพื่อให้การดำเนินงานสาธารณสุขบรรลุผล และประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลาวมีสุขภาพดี
คำสำคัญ: วัฒนธรรมสุขภาพ, การสาธารณสุข, กลุ่มชาติพันธุ์ไทลาว
Keywords: Health culture, Public health, Thai-Lao ethnic group
* โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหว้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
**คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 302 ครั้ง