ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นหายจากโรคซึมเศร้าในผู้ป่วย
โรคซึมเศร้า โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
จุไรรัตน์ ทุมนันท์*
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นหายจากโรคซึมเศร้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกที่โรงพยาบาลตระการพืชผลระหว่าง พ.ศ. 2562-2564 เข้ารับการบำบัดรักษาด้วยยารักษาโรคซึมเศร้าและได้รับการติดตามผลการรักษาด้วยแบบประเมินภาวะซึมเศร้า 9 คำถาม เพื่อประเมินผลการรักษาซึ่งประกอบด้วยการหายทุเลา การเป็นซ้ำและการฟื้นหาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติไคสแคว์
(Chi-square test)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งหมด 148 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 64.86 อายุเฉลี่ย 53.37±0.92 ปี มีสถานภาพสมรสร้อยละ 81.08 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 60.81 มีผู้ดูแลร้อยละ 77.03 ระยะเวลารักษาเฉลี่ย 14.74 ± 0.67 เดือน ผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่า ฟื้นหาย ร้อยละ 60.14 เป็นซ้ำ ร้อยละ 20.95 และไม่หายทุเลา) ร้อยละ 18.92 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการฟื้นหายจากโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ได้แก่ อายุ สัมพันธภาพในครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน และประวัติการขาดนัด (p=0.01)
คำสำคัญ: โรคซึมเศร้า, การฟื้นหาย, สัมพันธภาพในครอบครัว, ประวัติการขาดนัด
Keywords: Depressive Disorder, Recovery, Family relationship, Loss to follow up
โรงพยาบาลตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 354 ครั้ง